ทำไมจึงต้องทำการ
Overhaul
Rectifier ?
เนื่องจาก :
ส่วนใหญ่แล้ว Rectifier
ถูกติดตั้งใช้งานในโรงงานหรืออุตสาหกรรมประเภทชุบ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมี
ที่มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน
หรือทำให้เกิดสนิม หรือออกไซด์
จึงทำให้สภาพตัว Rectifier
ทรุดโทรม
เร็วกว่าปกติ
ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ
สภาพภายนอกที่มองดูแล้วตัวถังผุกร่อน เลอะเทอะไปด้วยเคมี
หรือสภาพ
ภายในของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ทรุดโทรม
โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบ Cooling
ต่างๆ เช่นพัดลม
ชำรุด หมุนแบบฝืดๆ หรือ
Heat sink ที่เปอะเปื้อนด้วยไอหรือเคมีมาเกาะติด
ทำให้ระบายความร้อนของ
อุปกรณ์จำพวก Power
ต่างๆ ไม่ดีพอ อย่างเช่น
หม้อแปลง หรือ Power diode
ซึ่งเสี่ยงต่อการช๊อต
ระเบิด หรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรมากๆ
ดังรูปข้างล่าง
หมายเหตุ
:
ภาพเหล่านี้อาจทำให้ท่านต้องรีบตัดสินใจทำอะไรกับเครื่องของท่าน
ก่อนที่ความเสียหาย
ครั้งใหญ่จะมาเยือนในเวลาที่ท่านไม่ต้องการ...(โทรหาเราด่วนหากท่านอยากให้เราช่วยแก้.....)
ด้วยเหตุผลทั้งสิ้นทั้งปวงที่อาจทำให้เครื่องของท่าน
เสียหายก่อนเวลาอันควร จึงต้องมีการทำ
การ Overhaul
เมื่อมีโอกาส
(
คงเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า วัวหายแล้วล้อมคอก
หรือ เสียน้อยเสียยากเสีย
มากเสียง่าย นะครับ... )
ทำอะไรบ้างเกี่ยวกับการ
Overhaul
:
- ตัวถัง
:
ทำความสะอาดคราบสนิมหรือเคมีต่างๆ ให้หมดจรด
ปะผุ ซ่อมแทรมในส่วนที่ชำรุด รองพื้น
พ่นรองพ้นด้วยสีกันสนิม
และพ่นตามด้วยสีพ่นอุตสาหกรรมกันสนิมอีกรอบ
-
แท่นเครื่อง : เปลื่ยนหรือซ่อมแซมใหม่หากดูแล้วไม่แข็งแรงในการใช้งาน
-
อุปกรณ์ไฟฟ้า : สายไฟ
, จุดต่อต่างๆ
ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่หากชำรุดเสื่อมสภาพ
-
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ :
เช่นแผง Control
ชุบเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ
PCB
เพื่อป้องกันออกไซด์
-
อุปกรณ์ Power :
ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนตัวใหม่,
ทา Silicone
ใหม่การระบายความร้อนที่ดีขึ้น
-
อุปกรณ์ระบบ Cooling :
พัดลม เปลี่ยนใหม่เมื่อสภาพชำรุด เสียงดัง
, ทำความสะอาด
Heat Sink
- Test and Calibrate :
Calibrate หรือตรวจเช็ค
Balance phase
, Calibrate กระแสทางออกตามเสปค
|